วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แผงเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 2534

ช่วงนี้เห็นแผงเหรียญหมุนเวียน 34 ขายกันหลายแผง ลองมาเทียบสถิติต่างๆกับตารางกันดูมีอะไรบ้าง เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับตัดสินใจในการซื้ิอ
  1. แผงนี้มีไม่เกิน 25,000 แผง เนื่องจาก 1,5,10 สตางค์ผลิตอย่างละ 25,000 
  2. เหรียญ 50 สตางค์ ผลิตน้อยติดอันดับ 2 ผลิต 4,660,380 เหรียญ ( ปี 30 อันดับ 1 ผลิต 1,000 เหรียญ )
  3. เหรียญ 1,5,10 สตางค์ผลิตน้อยติดอันดับ 4 25,000 เหรียญ
  4. เหรียญ 10 บาท ผลิตน้อยติดอันดับ 5 จำนวน 1,380,650 เหรียญ




วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๐ บาท ๑๐๐ ปี ศิริราชแพทยากร

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๐ บาท 
๑๐๐ ปี ศิริราชแพทยากร 
๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๓-๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ 
จำนวนผลิค 300,000 เหรียญ 
ถือเป็นเหรียญนิยม



เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๐ บาท เฉลิมพระเกียรติในการทรงนำชนบทให้วัฒนา

เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ๑๐ บาท 
เฉลิมพระเกียรติในการทรงนำชนบทให้วัฒนา
๒๑ กรกฎาคม ๒๔๓๐

จำนวนผลิค 300,000 เหรียญ 
ถือเป็นเหรียญนิยม






วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เหรียญ 5 บาท ปี 2551 มี 2 พิมพ์


เหรียญ 5 บาท ปี 2551 มี 2 แบบ หนา บาง โดย ใหม่ขวามือแบบบางผลิต 6,225,000 เหรียญครับ แบบเก่า ผลิต 220,463,200 เหรียญ

เหรียญ 5 บาทนิวซีรีส์...แม่ค้าไม่คุ้น

นับตั้งแต่กรมธนารักษ์ทยอยนำเหรียญชุดใหม่ (เหรียญนิวซีรีส์) ออกมาใช้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา โดยปรับปรุงใหม่ทั้งเหรียญ 1บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท ปรากฏว่าประชาชนยังสับสน หลายคนไม่กล้าใช้คิดว่าเป็นเหรียญปลอม โดยเฉพาะเหรียญ 5 บาท ที่มีขนาดบางและเบาลงกว่าเดิมมาก นอกจากนี้ ยังไม่สามารถนำไปหยอดในตู้ซื้อสินค้าบางชนิดได้ เช่น ตู้น้ำอัดลม ตู้ซื้อตั๋วรถไฟฟ้าบีทีเอส ฯลฯ

 "วรรณา ยินดียั่งยืน" ผอ.ส่วนวางแผนพัฒนาและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักกษาปณ์ กรมธนารักษ์ เล่าว่า ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2552 เป็นต้นมา กรมธนารักษ์ได้ผลิตเหรียญนิวซีรีส์ หรือเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนรุ่นใหม่ออกมาใช้ ขณะนี้ในตลาดมีครบทุกเหรียญแล้ว แต่ปริมาณไม่เท่ากัน แบ่งเป็นเหรียญ 25 สตางค์ 25 ล้านเหรียญ 50 สตางค์ 29 ล้านเหรียญ 1 บาท 19 ล้านเหรียญ 2 บาท 241 ล้านเหรียญ 5 บาท 229 ล้านเหรียญ และ 10 บาท 10 ล้านเหรียญ สำหรับสาเหตุที่ต้องเปลี่ยนรูปโฉมผลิตเหรียญ 2 บาทใหม่ และผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดก็เพราะที่ผ่านมาประชาชนสับสนระหว่างเหรียญ 2 บาทกับ 1 บาท เนื่องจากมีสีเงินและขนาดใกล้เคียงกันมาก กรมธนารักษ์จึงพยายามเรียกเก็บเหรียญ 2 บาทเดิม แล้วผลิตเหรียญ 2 บาทใหม่สีเหลืองทองออกมาใช้แทน
 "ตอนนี้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องเหรียญ 2 บาทแล้ว เพราะเปลี่ยนสีไปเลย จากสีเงินที่มีส่วนประกอบโลหะนิกเกิลชุบเคลือบไส้เหล็กมาเป็นอะลูมิเนียมบรอนซ์ ทำให้มีสีเหลืองทอง เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าเดิม แต่น้ำหนักลดลงจาก 4.4 กรัม เป็น 4.0 กรัม พอเปลี่ยนสีให้แตกต่างจากเหรียญ 1 บาทแล้ว ชาวบ้านก็ชอบ" วรรณา กล่าว
 อย่างไรก็ดี สำหรับเหรียญ 5 บาทใหม่กลับพบว่า กรมธนารักษ์ได้รับการร้องเรียนเข้ามามาก เนื่องจากน้ำหนัดลดลงทำให้เหรียญบาง ไม่หนาเหมือนเดิม จนมีข่าวลือในแถบภาคใต้ว่าเป็นเหรียญปลอม เวลาซื้อของพ่อค้าแม่ค้าไม่ยอมรับ ดังนั้น กรมธนารักษ์จึงพยายามชี้แจงว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิต ใช้วัสดุเหมือนเดิมคือคิวโปรสอดไส้ทองแดง เพียงแต่เหรียญ 5 บาทซีรีส์ใหม่จะมีน้ำหนักแค่ 6.0 กรัม ต่างจากรุ่นเก่าที่หนัก 7.5 กรัม ส่วนเรื่องการหยอดตู้อัตโนมัติไม่ได้นั้น กรมธนารักษ์ได้ประสานผู้ผลิตตู้ให้เร่งปรับเครื่องรองรับเหรียญรุ่นใหม่แล้ว
 ส่วนเหรียญ 1 บาทใหม่จะแตกต่างจากเดิมคือ น้ำหนักน้อยกว่า 0.4 กรัม และเปลี่ยนจากเนื้อโลหะคิวโปรนิกเกิลเป็นนิกเกิลชุบเคลือบไส้เหล็ก ผอ.ส่วนวางแผนพัฒนาฯ อธิบายเพิ่มเติมว่า เพื่อลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากเหรียญ 1 บาทชุดเดิม มีต้นทุนการผลิตเกือบ 2 บาทต่อเหรียญ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักสากล ที่ระบุให้มูลค่าวัสดุที่ใช้ผลิตเหรียญกษาปณ์แต่ละชนิด ไม่ควรเกินร้อยละ 40 ของราคาเหรียญ เช่น เหรียญ 1 บาท ต้องใช้มูลค่าโลหะที่ผลิตไม่เกิน 40 สตางค์ เป็นการป้องกันคนเอาเหรียญไปหลอมละลายทำเป็นสินค้าอย่างอื่น
 ทั้งนี้ เหรียญนิวซีรีส์ทุกรุ่นได้เปลี่ยนแปลงพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงด้วย โดยเปลี่ยนให้เป็นรูปแบบพระชนมายุปัจจุบันมากขึ้น เพราะเหรียญชุดเดิมใช้มากว่า 20 ปีแล้ว ส่วนลวดลายด้านหน้าและด้านหลังของเหรียญยังคงเหมือนเดิม เพียงแค่ปรับปรุงให้สวยงามคมชัดมากขึ้น 
 "ขอให้ประชาชนอย่าเก็บสะสมเหรียญไว้ในบ้าน หากอยากออมเงินให้มาแลกเป็นธนบัตรไปเก็บ เพราะกรมธนารักษ์ต้องผลิตเหรียญใหม่ออกมาใช้แทนเหรียญเก่าที่หายไปจากตลาด การผลิตเหรียญโลหะเป็นการใช้ต้นทุนสิ่งแวดล้อมสูง ทั้งกระบวนการขุดเจาะหาแหล่งแร่โลหะ การถลุงโลหะ การหลอมโลหะ ฯลฯ ขั้นตอนเหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น และประเทศไทยต้องซื้อเหรียญจากผู้ผลิตในต่างประเทศ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ถ้าทุกคนนำเหรียญเก่ามาหมุนเวียนใช้อย่างต่อเนื่อง ก็ไม่ต้องผลิตเหรียญใหม่ ไม่ต้องขุดวัตถุดิบจากธรรมชาติมาใช้มากเกินความจำเป็น ถือว่าช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมทางอ้อม" ผอ.ส่วนวางแผนพัฒนาฯ กล่าว
 ด้าน "จิราวุธ ตันตระกูล" ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมเหรียญกษาปณ์แห่งประเทศไทย กล่าวถึงปัญหาของการใช้เหรียญซีรีส์ใหม่คือเรื่องน้ำหนัก เพราะตู้หยอดเหรียญอัตโนมัติจะรับเหรียญโดยคำนวณจากเส้นผ่าศูนย์กลางและน้ำหนัก หากผิดไปจากที่ตั้งโปรแกรมไว้ก็จะหล่นออกมา ส่วนตัวเห็นด้วยที่เปลี่ยนสีเหรียญ 2 บาทเป็นแบบใหม่ ป้องกันความสับสนกับเหรียญบาท ส่วนเหรียญ 5 บาทตอนนี้ประชาชนยังไม่เคยชิน แต่สักพักปัญหาต่างๆ จะหมดไป และเหรียญ 5 บาทเดิมก็จะเริ่มหมดไปจากตลาดด้วย
 "เหรียญ 5 บาทผลิตเกือบทุกปี ประมาณปีละ 30-100 ล้านเหรียญ คนที่สะสมจะเลือกรุ่นที่ผลิตน้อย เช่นเหรียญ 5 บาทปี 2546 ผลิตแค่ 182,000 เหรียญ สังเกตปีที่ผลิตได้จากตัวเลข พ.ศ.ที่ปั๊มอยู่ด้านหลังของเหรียญทุกอัน แม้หน้าเหรียญจะปั๊มราคาแค่ 5 บาท แต่ราคาที่นักสะสมซื้อคือเหรียญละ 50 บาท ซึ่งหาไม่ค่อยเจอแล้วเพราะผลิตน้อยมาก" จิราวุธ ระบุ
 ทั้งนี้ เว็บไซต์นักสะสมเหรียญหลายแห่ง ได้นำเหรียญกษาปณ์รุ่นต่างๆ มาประกาศขายกันอย่างคึกคัก โดยเหรียญ 5 บาทในปี 2546 มีการประกาศขายราคาเหรียญละ 150 บาท ส่วนเหรียญ 2 บาทบางรุ่นราคาสูงถึง 50 บาท
 เจ้าหน้าที่ศูนย์ฮอตไลน์ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส ชี้แจงถึงกรณีที่ไม่สามารถใช้เหรียญ 5 บาทกับเครื่องซื้อตั๋วอัตโนมัติว่า ขณะนี้ศูนย์วิศวกรรมของบริษัทยืนยันว่า กำลังมีการปรับปรุงระบบใหม่ทั้งหมด เพื่อทำให้เหรียญ 5 บาทซีรีส์ใหม่สามารถใช้ได้กับทุกเครื่องแล้ว

เครดิตข้อมูลดีๆจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20090817/24533/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%8D5%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B9%8C...%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99.html

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เหรียญ 5 บาท ปี 2525 รหัส 25-29 ครุฑพ่าห์ตรง

เหรียญกษาปณ์ชนิดโลหะสีขาว(ทองแดงผสมนิเกิล)เคลือบไส้ทองแดง พ.ศ.2525 ราคา 5 บาท







กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้าย มีข้อความว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙"
กลางเหรียญมีรูปครุฑพ่าห์ ชิดวงขอบ เหรียญเบื้องบนมีข้อความว่า "พ.ศ.๒๕๒๕" เบื้องล่างมีข้อความว่า "ประเทศไทย" ด้านซ้ายมีเลข "๕" ด้านขวามีเลข "5" ใต้รูปครุฑมีคำว่า "บาท" ใต้คำว่าบาท มีเครื่องหมายโรงกษาปณ์และมีเลขย่อ ของปีพุทธศักราชที่ผลิตเหรียญออกใช้

ข้อมูลเพิ่มเติม
น้ำหนัก : 12 กรัมราคา ณ วันประกาศใช้ : 5 บาท
วันที่ประกาศใช้ : 9 ธันวาคม 2525เส้นผ่าศูนย์กลาง : 30  มิลลิเมตร

ชนิด : โลหะสีขาวเคลือบไส้ทองแดง
ราคาหน้าเหรียญ 5 บาทประเภท -
ลักษณะ เหรียญกลม ขอบเฟือง

ส่วนผสม :จำนวนการผลิต :
นิกเกิล25
ไส้ทองแดง99.5
2525500000 เหรียญ
2527700000 เหรียญ
25297201000 เหรียญ

ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นางพุทธชาติ อรุณเวชผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายสมชัย นวลสกุล


ขอขอบคุณข้อมูลจากกรมธนารักษ์
http://business.treasury.go.th/coininfo/detail.php?id=7&gid=4


                                 สนับสนุนโดย Thai Phone Shop นึกถึงโทรศัพท์นึกถึงเรา                                  http://www.thaiphoneshop.com/

 Thai Phone Shop



เทียบกับเหรียญ 10 รุ่นปัจจุบัน


เหรียญ 5 บาทชุดนี้น่าสนใจตรงที่ แต่ละปีผลิตไม่มาก โดยเฉพาะปี 26 ผลิตแค่ 100,000 เหรียญ แรกใช้งานเมื่อ 32 ปีที่แล้ว ที่เก็บไปก็มาก ใช้งานไปส่วนใหญ่ เหลือที่ไม่เคยใช้งาน UNC อีกไม่มากนัก จะว่าไปน้อยกว่า 5/46 ในปัจจุบันแน่นอน สำหรับการเก็บสะสมหรือรอขายต่อแนะนำชุดนี้หามาเก็บกันไว้เลยครับ ราคาปัจจุบัน 800-1200 บาท ( 08/2558 )

2525 ผลิต 500,000 เหรียญ
2526 ผลิต 100,000 เหรียญ
2527 ผลิต 700,000 เหรียญ
2528 ผลิต 17,911,000 เหรียญ
2529 ผลิต 7,201,000 เหรียญ

บริเวณด้านล่างใต้ " บาท " นกวายุพักตร์รูปเล็ก มีเลขย่อ ของปีพุทธศักราชที่ผลิตเหรียญออกใช้