วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559
วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ประเมินราคาเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2500 - 2525
ประเมิน ราคาเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2500 - 2525
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2493 ( เหรียญตัวอย่าง )
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2500
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2505 ( เหรียญตัวอย่าง )
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2505
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2517
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2520 ( ภู่สั้น )
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2520 ( ภู่ยาว )
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2525 ( พระเศียรเล็ก )
ภาพขยายรหัสในนกวายุภักษ์ บนเหรียญ 1 บาท พ.ศ. 2525
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2525 ( รหัส ๒๕ ๒๖ ๒๗ ๒๘ )
หมายเหตุ รูปและสื่อต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
10 อันดับ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายาก รัชกาลที่ 9
10 อันดับ เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายาก รัชกาลที่ 9
จัดอันดับและรูปภาพโดย อ.อรรณพ แก้วปทุมทิพย์
จัดลำดับโดย อ.อรรณพ แก้วปทุมทิพย์
สนับสนุนโดย Thai Phone Shop นึกถึงโทรศัพท์นึกถึงเรา
อันดับ 1 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลเคลือบไส้ทองแดง เหรียญ 5 บาท พ.ศ.2525 ด้านหน้าพระเศียรเล็ก
เหรียญ 5 บาท พ.ศ.2525 ด้านหน้าพระเศียรเล็ก เป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียน ร.9 ที่แพงที่สุด สนนราคาในการซื้อขายแลกเปลี่ยนว่ากันว่าเกินกว่า 200,000 บาท แต่จะไปถึงเท่าไร @MiN ไม่อาจทราบได้เพราะเหรียญนี้ไม่เคยปรากฏว่ามีการซื้อขายกันลักษณะพิเศษคือด้านหน้าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีขนาดเล็กกว่าแบบธรรมดา ข้อมูลจากการให้สัมภาษณ์ อ.อรรณพ แก้วปทุมทิพย์ ในรายการ Line กนก ในช่วงหนึ่งกล่าวไว้ว่า" ไม่สามารถเห็นเหรียญที่สอง " นั่นคือไม่แน่ว่าอาจมีแค่เหรียญเดียวในโลก "
อันดับ 2 เหรียญกษาปณ์สองสีราคา เหรียญ10 บาท ปี 2533 ผลิต 100 เหรียญ
ข้อมูลจาก Website กรมธนารักษ์ ผลิตเพียง 100 เหรียญ ข้อมูลจากเรื่องเล่าเช้านี้ เหรียญนี้ผลิตเพื่อนำไปแจก ผู้เข้าร่วมการประชุม Mint Directors Conference ( MDC ) ครั้งที่ 16 ที่ ประเทศอังกฤษ โดยเหลืออยู่ที่กรมธนารักษ์ 60 เหรียญ 20 เหรียญแจกจ่ายให้ผู้ร่วมงาน อีก 20 เหรียญแจกจ่ายให้กับคนไทย ดังนั้นโอกาสที่จะพบเจอในการจับจ่ายแทบจะไม่มี เหรียญนี้ @MiN ก็ไม่เคยเห็นมีการซื้อขายกันเลย สนนราคาที่ประเมินกันเกินกว่า 100,000 บาท อย่างแน่นอน
อันดับ 3 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ 25 สต.พ.ศ.2500 ด้านหลังตัวหนังสือบาง
อันดับ 4 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ10 สต. พ.ศ.2500 ด้านหลังสิบสตางค์หางยาว
อันดับ 5 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลราคา เหรียญ1 บาท พ.ศ.2525 ด้านหน้าพระเศียรเล็ก
จุดสังเกตที่ " ด " พิมพ์ต่างกัน
อันดับ 6 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ 50 สต. พ.ศ.2493 ด้านหลังตัวหนังสือหนา
อันดับ 7 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ 50 สต. พ.ศ.2530 ผลิต 1,000 เหรียญ
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 50 สตางค์ ด้านหลังรูปพระธาตุดอยสุเทพ ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ ผลิตเหรียญแรกเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยเป็นเนื้อทองเหลือง ( อลูมิเนียมบรอนซ์ ) เมื่อถึงปี 2551 จึงมีการผลิตแบบทองแดง ( ไส้เหล็กชุบทองแดง ) คู่กัน หลังจากนั้นปี 2552 ถึงปัจจุบัน มีการผลิตแบบทองแดงแบบเดียว ในปีแรก 2530 ผลิตเพียง 1,000 เหรียญ ทั้งยังมีเหรียญที่รวมจัดเป็นชุด จึงไม่แน่ชัดว่าเหรียญที่ใชัจ่ายหมุนเวียนเป็นเหรียญนี้สักกี่เหรียญ แต่คงแค่หลักร้อย ทำให้ราคาพุ่งขึ้นเรื่อยๆ ขายกันอยู่ที่ 2000-6000 บาท ( 23.07.2558 ) แล้วแต่ว่าขายตลาดไหน ช่วงเวลาไหน และสภาพเหรียญกี่เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 50 สตางค์ พ.ศ. 2530 ยังถูกยกให้เป็นลำดับ 7 จาก " ๑๐ ลำดับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนหายาก รัชกาลที่ ๙ " ที่จัดลำดับโดย อ.อรรณพ แก้วปทุมทิพย์
อันดับ 8 เหรียญกษาปณ์นิกเกิลราคา เหรียญ1 บาท ปี 2529 ด้านหลังช่อฟ้าหางยาว
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 1 บาท ( วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ) เริ่มใช้ครั้งแรกในปี 2529 จนถึงปัจจุบัน ( 2558 ) โดยในปีแรกมีการผลิตเพียง 4.2 ล้านเหรียญ เป็นปีที่ผลิตน้อยที่สุดถึงปัจจุบัน ( 2558 ) ซึ่งมีการผลิตเหรียญ 1 บาท ชนิดนี้มาแล้วมากกว่า หมื่นล้านเหรียญ ประมาณว่าถ้าสุ่มเหรียญบาท 10,000 เหรียญจะเจอเหรียญปี 2529 เพียง 4 เหรียญ ยิ่งนานปีและมีคนเริ่มสะสมขึ้นเรื่อยโอกาสที่จะได้รับเงินทอนเป็นเหรียญ 1 บาท ปี 2529 แทบเป็นไปไม่ได้ ( น้อยกว่า 0.004 % ) แต่ยังไม่ใช่แค่นั้นในจำนวน 4.2 ล้านเหรียญ ยังแบ่งเป็น 2 บล็อก คือที่เป็น ช่อฟ้าสั้น และ ช่อฟ้ายาว นักสะสมฟันธงว่าช่อฟ้ายาวน้อยกว่า แต่จะน้อยกว่าเท่าไรผู้เขียนไม่อาจทราบได้ ทำให้สนนราคาในการซื้อขายหรือการประมูล ราคาของเหรียญสองบล็อกนี้จึงแตกต่างกัน โดยหนึ่งบาทช่อฟ้าสั้นในเดือน พฤษภาคม 2558 ซื้อขายกันที่เหรียญละ 150-250 บาท ช่อฟ้ายาวอยู่ที่ 600-900 บาท
อันดับ 9 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมราคา เหรียญ10 สต. ปีพ.ศ.2530 ผลิต 5,000 เหรียญ
อันดับ 10.1 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมราคา เหรียญ 5 สต. ปี พ.ศ. 2530 ผลิต10,000 เหรียญ
อันดับ 10.2 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ25 สต. พ.ศ.2542 ผลิต10,000 เหรียญ
อันดับ 10.3 เหรียญกษาปณ์อลูมิเนียมบรอนซ์ราคา เหรียญ 25 สต. พ.ศ.2544 ผลิต10,000 เหรียญ
ขอขอบคุณ
รูปภาพจาก อ.อรรณพ แก้วปทุมทิพย์
ข้อมูลจากรายการเรื่องเล่าเช้านี้
ข้อมูลจากรายการ Line กนก
ข้อมูลจากกรมธนารักษ์
รูป ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เหรียญ 1 บาท พ.ศ. 2505 ราคาหลักแสน จริงหรือไม่ ?
มีไหม เหรียญ 1 บาท ราคา 1 แสน ?
ตอบว่ามีครับเหรียญที่ว่ากันว่าเป็น " เหรียญตัวอย่าง " ซึ่ง แอดมิน ได้เห็นรูปผ่านตาแค่ 4 เหรียญ ประมาณว่าน่าจะอยู่ในหมู่นักสะสมไม่เกินร้อยเหรียญ น้อยกว่าพิมพ์ปกติที่มีจำนวนการผลิต 883,086,000 เหรียญ ลักษณะรูปประทับพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวคนละแบบ ตัวหนังสือเหมือนกันแต่วางตำแหน่งไม่ตรงกับ
ด้านหน้า แบบธรรมดา พระนาม " ภูมิพลอดุลยเดช " และ " รัชการที่ ๙ " โค้งต่อกับรอบพระบรมรูป ส่วนเหรียญตัวอย่าง อักษร " รัชการที่ ๙ " อยู่เบื้องบน พระนาม " ภูมิพลอดุลยเดช " อยู่เบื้องล่าง
ด้านหลัง จุดสังเกตชัดเจนอีกที่คือตำแหน่งของตราแผ่นดินที่พระมหาพิชัยมงกุฎ ในพิมพ์ปกติส่วนปลาย อยู่ระหว่าง คำว่า " รัฐบาลไทย " และ " พ.ศ.๒๕๐๕ " สำหรับพิมพ์ตัวอย่าง ส่วนยอดพระมหาพิชัยมงกุฎ ตรงกับอักษร " ย " ของคำว่า รัฐบาลไทย
เหรียญบน 3-40 บาท ล่าง 50,000-150,000 บาท
ขอบคุณ คุณ ทิพวรรณ ราชวัตรวัตถุโบราณ เอื้อเฟื้อรูปเหรียญครับ
ขอบคุณ คุณ ทิพวรรณ ราชวัตรวัตถุโบราณ เอื้อเฟื้อรูปเหรียญครับ
เหรียญกษาปณ์(ชนิดทองขาวตราแผ่นดิน พ.ศ.2505) ราคา 1 บาท
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ครึ่งพระองค์ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย ริมขอบบนมีพระปรมาภิไธย " ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ "
ด้านหลัง : เป็นรูปตราแผ่นดินในรัชกาลที่ 5 แต่ยอดพระมหาพิชัยมงกุฎไม่มีรัศมี ริมขอบบนมีข้อความว่า "รัฐบาลไทย พ.ศ ๒๕๐๕" เบื้องล่างมีข้อความบอกราคา " หนึ่งบาท "
น้ำหนัก : 7.5 กรัม ราคา ณ วันประกาศใช้ : 1 บาท
วันที่ประกาศใช้ : 4 ธันวาคม 2505 เส้นผ่าศูนย์กลาง : 27 มิลลิเมตร
ชนิด : นิกเกิล
ราคาหน้าเหรียญ : 1 บาท ประเภท : -
ลักษณะ : เหรียญกลม ขอบเฟือง
ส่วนผสม :
ชื่อส่วนผสม ร้อยละ : ทองแดง 75 นิเกิล 25
จำนวนการผลิต : 883,086,000 เหรียญ
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นายสายันต์ เทศะศิริ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์
ผู้ออกแบบ (หลัง) : นายสายันต์ เทศะศิริ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นายสายันต์ เทศะศิริ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์
ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายสายันต์ เทศะศิริ กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ข้อมูลดีๆจาก http://business.treasury.go.th/coininfo/detail.php?id=902&gid=4
หมายเหตุ รูปและสื่อต่างๆ ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เหรียญกษาปณ์ทองขาว ( 9 เหลี่ยม ตราครุฑพ่าห์ พ.ศ.2515 ) ราคา 5 บาท จุดสังเกตไหนปลอมไหนจริง ?
เหรียญกษาปณ์ทองขาว ( 9 เหลี่ยม ตราครุฑพ่าห์ พ.ศ.2515 ) ราคา 5 บาท ไหนปลอมไหนจริง ?
เหรียญกษาปณ์ทองขาว ( 9 เหลี่ยม ตราครุฑพ่าห์ พ.ศ.2515 ) ราคา 5 บาท ไหนปลอมไหนจริง ?
เป็นเหรียญ 5 บาท เหรียญแรกของประเทศไทย และเป็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดเดียวที่เป็นแบบเก้าเหลี่ยม หลังจากเริ่มประกาศใช้ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2516 สี่สิบกว่าปีที่แล้ว ไม่นานก็เริ่มมีการผลิตเหรียญเรียนแบบ หรือที่เรียกอีกอย่างว่าเหรียญปลอมแรกๆก็ยังปลอมไม่เข้าขั้น แค่จ้บดูก็รู้ว่าปลอม บางรุ่นผลิตจากดีบุก ผ่านไปสักพักฝีมือการลอกเรียนพัฒนา แว่วว่านำเข้าจากต่างประเทศกันเลยทีเดียว คราวนี้แหละที่เป็นปัญหา ทั้งผิว เนื้อเหรียญ น้ำหนัก เสียงตกกระทบพื้น ไม่ต่างกันเลย เรียกว่าถ้าไม่ใช้แว่นขยายส่องคงแยกกันไม่ออก เหรียญปลอมเหล่านี้ยังคงวนเวียนกันอยู่ในหมู่นักสะสม หวังบทความนี้คงจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยสำหรับนักสะสมรุ่นใหม่ ที่เริ่มเก็บเหรียญจะได้แยกกันออกว่า เหรียญไหนจริงเหรียญไหนปลอม
สนับสนุนโดย Thai Phone Shop นึกถึงโทรศัพท์นึกถึงเรา
จุดสังเกต เหรียญ 5 บาท เก้าเหลี่ยม พ.ศ. 2515 หลังครุฑ ว่า แท้ หรือ ปลอม
จุดสังเกต เหรียญจริง "สระอิ " ชิด มอม้า เหรียญปลอม "สระอิ " ห่าง มอม้า
จดสังเกต เหรียญจริง " หางตรง " เหรียญปลอม " หางงอ "
รูป ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 บาท พ.ศ. 2546 โอกาสที่จะพบในการจับจ่ายปกติคือ 1 ใน 9203
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 บาท พ.ศ. 2546 เป็นเหรียญที่ผลิตน้อยอันดับ 2 โดยผลิตเพียง 182,000 เหรียญ โอกาสที่จะพบในการจับจ่ายปกติคือ 1 ใน 9203
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน 5 บาท หลังวัด ( พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร ) ในปัจจุบันที่ใช้กันอยู่ ผลิตเหรียญแรกเมื่อปี 2531 พร้อมกับเหรียญหัวเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยในปี 2531 ได้ใช้งานพร้อมกันทั้งสองแบบ ปีถัดมาจึงเหลือแบบเดียว เป็นเหรียญ 5 บาทหมุนเวียน รุ่นที่ 5 เมื่อถึงปี 2551 จึงปรับให้บางลง ความต้องการในตลาดเหรียญสูงสุดที่ปี 2540 เนื่องจากผลิตเพียง 10,600 เหรียญ รองลงมาเป็น พ.ศ. 2546 ที่ผลิต 182,000 เหรียญจากทั้งหมด 2531-2551 รวมผลิต 1,674,985,300 เหรียญ โอกาสที่จะพบในการจับจ่ายปกติคือ 1 ใน 9203 เหรียญ กล่าวคือนำเงิน 46,020 บาท ไปแลกเหรียญ 5 ได้เหรียญมา 9204 เหรียญจะมีเหรียญ 5 บาท พ.ศ. 2546 จำนวน 1 เหรียญ ทั้งยังมีเหรียญที่จัดเป็นชุด จึงไม่แน่ชัดว่าเหรียญที่ใชัจ่ายหมุนเวียนเป็นเหรียญนี้สักกี่เหรียญ ราคาของการหายากจึงมีค่าหลักร้อย วันนี้ ราคาต่ำสุดขายกันที่ 250 บาท สูงสุด 800 บาท กรณีเป็นแบบไมผ่านการใช้งาน UNC
ด้านหน้า : ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้าย ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย ชิดวงขอบเหรียญด้านซ้ายมีข้อความว่า "ภูมิพลอดุลยเดช" ด้านขวามีข้อความว่า "รัชกาลที่ ๙"
ด้านหลัง : ขอบเหรียญวงในเป็นรูปเก้าเหลี่ยม กลางเหรียญมีรูปพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เบื้องบนมีข้อความว่า "ประเทศไทย" และปี พ.ศ. ที่จัดทำเหรียญ เบื้องล่างมีข้อความว่า "๕ บาท 5"
น้ำหนัก : 7.5 กรัม | ราคา ณ วันประกาศใช้ : 5 บาท | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันที่ประกาศใช้ : 1 มิถุนายน 2531 | เส้นผ่าศูนย์กลาง : 24 มิลลิเมตร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชนิด : โลหะสีขาวเคลือบไส้ทองแดง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราคาหน้าเหรียญ : 5 บาท | ประเภท : ธรรมดา | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ลักษณะ : เหรียญกลม วงขอบนอกมีเฟืองจักร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ส่วนผสม : | จำนวนการผลิต : | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางไพฑูรย์ศิริ ณ เชียงใหม่, นางสาวสุภาพ อุ่นอารีย์ | ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาวปราณี คล้ายเชื้อวงศ์, นายพนม บุญศิลป์, นางสุนันทา ธิกุลวงษ์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นางพุทธชาติ อรุณเวช | ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นายวุฒิชัย แสงเงิน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูป ใน Lomacoin Fanpage ,blogger.com , Line , Web และอื่นๆ ที่เผยแพร่เราจะพยายามไม่ใส่ลายน้ำบนเหรียญ เพื่อความสวยงามในการรับชม รบกวนใครนำรูปไปใช้ ไม่ว่าจะเป็น Youtube , Web , Facebook และอื่นๆ ขอความกรุณาใส่เครดิต " Lomacoin " ให้ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ